• 3850 ถนนพระราม 4 คลองเตย กรุงเทพ
  • ตลอด 24 ชั่วโมง
  • 02-348-7000

ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อันตรายหากมองข้าม



“ภาวะโรคหัวใจ”  เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ  ในปัจจุบัน  และมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง  
 
ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน คือ โรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจมีการตีบหรือตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีเลือดไปเลี้ยงลดลงหรือไม่มีเลย เป็นผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หากรุนแรงทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ 

อาการที่สำคัญของภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
คือ  อาการเจ็บแน่นหน้าอก ,เหนื่อยง่ายขณะออกกำลังกาย อาการจะดีขึ้นขณะพัก ,รู้สึกเหมือนถูกบีบรัดที่บริเวณหน้าอกปวดร้าวไปไหล่ซ้าย และแขนซ้าย บางรายอาจปวดร้าวไปที่คอ หรือ กรามด้านซ้าย ,มีอาการเหนื่อยหอบ หรืออาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น
  
ใครบ้างที่มีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
สาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ 4 อย่าง เช่น
  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่สูบบุหรี่จัด 
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุรองๆ เช่น ความเครียด, ไม่ออกกำลังกาย, กรรมพันธุ์  เป็นต้น

จะทราบได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคหรือยัง
เมื่อมาพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติอาการเจ็บป่วยที่พึ่งสงสัยอย่างละเอียด รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของคุณ  จากนั้นแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ทุกระบบขงร่างกาย รวมทั้งระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ และพิจารณาการส่งตรวจหัวใจด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้ 

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram หรือ Elektrokardiogram): ECG/EKG) เป็นการตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือด เฉียบพลันที่สำคัญที่สุด โดยจะใช้เวลาตรวจประมาณ 5 นาที เพื่อวัดคลื่นไฟฟ้า อัตรา และจังหวะการเต้นของหัวใจ ว่ามีความผิดปกติ หรือไม่ ซึ่งวิธีการตรวจนี้จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และสามารถช่วยแยกโรคอื่นได้ เพื่อทำการรักษาต่อไป 

การตรวจเลือด เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยที่ช่วยระบุโรคหัวใจขาดเลือด เพราะเนื่องจากเกิดภาวะ หัวใจขาดเลือด จะทำให้มีเอนไซม์จากเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่ตายรั่วไหลลงไปใน กระแสเลือดมากกว่าปกติยิ่งมีเอนไซม์ในเลือดมากเท่าใดก็บ่งบอกว่ามีเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตายมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งสัมพันธ์กับภาวะหัวใจขาดเลือด

การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography) เป็นการตรวจดูความผิดปกติ ของหัวใจขาดเลือดด้วยการฉีดสารทึบสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ จากนั้นแพทย์จำการ เอ็กซเรย์เพื่อดูว่ามีส่วนใดของหลอดเลือดอุดตันบ้างหรือไม่ หากพบความผิดปกติแพทย์ จะรักษาด้วยการเปิดหลอดเลือดด้วยบอลลูนและขดลวดค้ำยันเพื่อเปิดทางให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก

ดังนั้น การดูแลตรวจเชคสุขภาพของหัวใจอยู่เสมอจึงมีความสำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

ข้อจำกัดในการตรวจ 
ทุกเพศทุกวัยสามารถตรวจได้ ไม่มีข้อห้ามในการตรวจ เพราะเป็นการตรวจที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด อันตราย หรือส่งกระแสไฟฟ้าเข้าไปในร่างกาย

อาการเหล่านี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนทันที
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

02-348-7000

Have a question? call us now

@vimut-theptarin

Be friend with us

info@Theptarin.com

Need support? Drop us an email