• 3850 ถนนพระราม 4 คลองเตย กรุงเทพ
  • ตลอด 24 ชั่วโมง
  • 02-348-7000

Calcium Score ตรวจหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ



 
เรารู้กันดีว่าแคลเซียมทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง แต่ถ้าแคลเซียมนั้นอยู่ที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ จะเป็นโทษถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้  และนี่จึงเป็นเหตุให้การตรวจหาแคลเซียมหรือหินปูนในหลอดเลือดหัวใจเป็นเรื่องสำคัญ 

แคลเซียมไปอยู่ที่ผนังหลอดเลือดได้อย่างไร
การที่เราพบแคลเซียมหรือหินปูนบนผนังหลอดเลือด หมายความว่าผนังหลอดเลือดหัวใจตรงจุดนั้น อาจเคยมีการอักเสบ หรือมีความเสื่อม ร่างกายเราจึงสร้างแคลเซียมขึ้นมาปกป้องจุดที่มีการอักเสบนั้นนอกจากนี้หินปูนยังมาพร้อมกับคราบไขมันที่เกาะผนังหลอดเลือด และสะสมมากขึ้นจนเส้นเลือดหัวใจตีบหรือตันได้ส่วนใหญ่เรามักพบแคลเซียมสะสมบนผนังหลอดเลือดในผู้ที่มีอายุเกิน 45 ปีขึ้นไป หรือคนที่มีไขมันในเลือดสูง เป็นโรคเบาหวาน น้ำหนักเกิน เครียด ไม่ออกกำลังกาย หรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ

เมื่อแคลเซียมหรือหินปูนสะสมมากขึ้นในผนังหลอดเลือด จะทำให้หลอดเลือดตีบ ถ้ามีหินปูนเกาะที่ผนังมากขึ้น เลือดจะไหลผ่านจุดนั้นได้ช้าลงหรือในปริมาณน้อยลง เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดไม่พอ ก็จะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจไม่สามารถบีบตัวเพื่อสูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆ ได้ จึงทำให้หัวใจทำงานไม่ได้ และอาจทำให้หัวใจวายเฉียบพลัน 

มีแคลเซียมแค่ไหนจึงจะถือว่าอันตราย
ดังนั้น นอกจากจะตรวจหาไขมันในเลือดในการตรวจสุขภาพประจำปีแล้ว เราควรตรวจหาแคลเซียมด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น อายุเกิน 45 ปี มีโรคประจำตัวเช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง น้ำหนักเกิน เป็นต้น 

แม้ว่าการเอกซเรย์ทรวงอกจะช่วยให้เห็นหัวใจและหลอดเลือดได้ แต่ไม่ชัดเจนเท่ากับการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง หรือที่เราคุ้นหูกันว่า ซีทีสแกน (CT Scan) เพื่อตรวจระดับแคลเซียมในหลอดเลือดหรือการหาค่า “แคลเซียม สกอร์” (Coronary calcium Score)

เครื่อง CT Scan นี้ ทำงานได้รวดเร็ว และจะคำนวณค่าแคลเซียม สกอร์ ออกมาให้ได้เลย หากค่าเป็นศูนย์ (0) หมายถึงความเสี่ยงต่ำ โอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ในช่วง 5 ปี จะมีน้อยมาก แต่ยิ่งค่าเพิ่มขึ้นเท่าไร ความเสี่ยงยิ่งสูงมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะหากค่าแคลเซียม สกอร์ สูงเกินกว่า 400 อาจหมายถึงว่าคุณมีเส้นเลือดตีบแล้ว รวมทั้งมีโอกาสหรือความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันใน 2-5 ปีข้างหน้า

ค่าแคลเซียม สกอร์ ยังช่วยให้แพทย์บอกได้ว่าคุณมีความเสี่ยงหรือเริ่มมีเส้นเลือดหัวใจตีบแล้ว ทั้งๆ ที่คุณยังไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เช่น เหนื่อย หายใจไม่อิ่ม แน่นหน้าอก หรือวูบ เป็นต้น  และการตรวจพบตั้งแต่แรกๆ เมื่อแคลเซียมยังสะสมไม่มาก จะช่วยให้แพทย์รักษาได้ง่ายขึ้น หรือคุณสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงได้ด้วยตัวคุณเอง โดยได้รับคำแนะนำจากแพทย์

ตรวจยากไหม
ง่ายกว่าตรวจเลือดเสียอีก คุณไม่ต้องอดข้าวอดน้ำ ไม่ต้องฉีดสารทึบรังสี ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แค่ทำใจให้สบายๆ นอนลงบนเครื่อง CT Scan แล้วให้เครื่องทำงานประมาณ 10-15 นาทีเท่านั้น หลังจากนั้น คุณก็สามารถทำทุกอย่างได้ตามปกติ

เครื่อง CT Scan นี้ สามารถสแกนหัวใจ ได้ภาพที่คมชัด มองเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีจุดไหนที่มีคราบหินปูนเกาะอยู่บ้าง และในปริมาณมากน้อยเพียงไร 

นอกจากเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยแล้ว การอ่านผลต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์ด้วย จึงจะได้ผลที่ถูกต้อง โรงพยาบาลเทพธารินทร์ซึ่งมีความชำนาญด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน และไทรอยด์เป็นพิเศษ มีทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญสามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ รวมทั้งมีเครื่องมือพร้อมที่จะให้การรักษาอย่างทันท่วงที
 

การตรวจหาความเสี่ยงโรคหัวใจ

นอกจากการตรวจเพื่อดูระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดแล้ว การตรวจหาปริมาณแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพื่อให้ทราบว่าเราเริ่มมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากขนาดไหน โดยที่ไม่ต้องรอให้เกิดอาการ

บทความที่เกี่ยวข้อง

02-348-7000

Have a question? call us now

@vimut-theptarin

Be friend with us

info@Theptarin.com

Need support? Drop us an email