ให้บริการในการดูแลรักษาปัญหาสุขภาพเท้า ทั้งผู้เป็นเบาหวานที่ไม่ทราบว่าตนเองว่ามีปัญหาเส้นประสาทรับความรู้สึกที่เท้าเสื่อม หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน ผู้เป็นเบาหวานที่มีปัญหาเท้าชา มีแผลเรื้อรังที่เท้า เสี่ยงต่อการถูกตัดนิ้ว ตัดเท้า ตัดขา ผู้มีปัญหาเท้าผิดรูป เดินแล้วเจ็บเท้า หารองเท้าที่เหมาะสมใส่ยาก มีปัญหาเล็บม้วนขบเจ็บและอักเสบ มีหนังแข็งทำให้ไม่สุขสบายเท้า
ผู้ที่เป็นเบาหวานควรได้รับการตรวจสุขภาพเท้าจากนักส่งเสริมสุขภาพเท้าอย่างละเอียด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าหรือไม่ เมื่อทราบแล้วจะได้สามารถป้องกันการเกิดแผลเรื้อรังที่เท้าได้
นักส่งเสริมสุขภาพเท้าทำการตรวจเส้นประสาทรับความรู้สึกที่เท้า ประเมินสภาพผิวเท้า สภาพเล็บเท้า รูปร่างเท้า นิ้วเท้า ลักษณะการลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้า ปัญหาเชื้อราที่เท้าและเล็บเท้า รองเท้าที่ใช้ในปัจจุบันเหมาะสมกับแต่ละกิจกรรมหรือไม่ ตรวจประเมินสภาพเส้นเลือดโดยการคลำชีพจร และเครื่องตรวจประเมินหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (Ankle Brachial Index Measurement) ในผู้มีปัญหาหลอดเลือดแดงที่เท้าตีบตัน
แผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวานมักเป็นแผลเรื้อรัง ใช้เวลาในการดูแลรักษายาวนาน และมีโอกาสอักเสบติดเชื้อ ลุกลามจนต้องตัดนิ้ว ตัดเท้า ตัดขาได้ หากดูแลไม่ถูกวิธี หลักการรักษาแผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวานมี 3 ประการสำคัญ คือ
เมื่อผู้เป็นเบาหวานมารับการรักษาแผลที่เท้าที่ โรงพยาบาลวิมุต-เทพธารินทร์ จะได้รับการตรวจประเมินสภาพแผลที่เท้า ประเมินเส้นเลือด เส้นประสาทรับความรู้สึกที่มาเลี้ยงที่เท้า เพื่อจำแนกลักษณะของแผลและสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม
ความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ โรงพยาบาลวิมุต-เทพธารินทร์ คือ ผู้เป็นเบาหวานที่มีแผลที่เท้าจะได้รับการดูแลรักษาจากอายุรแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการรักษาโรคเบาหวานควบคู่ไปกับการดูแลแผลจากศัลยแพทย์ ทำให้คุณภาพการรักษามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น นอกจากนั้นจะได้รับการดูแลจากทีมสหสาขาวิชาชีพ เช่น นักส่งเสริมสุขภาพเท้า ผู้ให้คำแนะนำเรื่องการดูแลรักษาแผล จัดหารองเท้า และอุปกรณ์เสริม เพื่อทำให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้โดยไม่เป็นภาระแก่ผู้ดูแลและไม่ทำให้แผลแย่ลง
"การตรวจเท้าด้วยตนเองเป็นประจำทุกวัน เป็นการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวาน ที่มีปัญหาเส้นประสาทรับความรู้สึกส่วนปลายเสื่อมได้ดีที่สุด"
หากมีปัญหาเล็บเท้าม้วนขบ ก้มตัดเล็บเองไม่ถนัด สายตามองเห็นไม่ชัด ล้วนเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า ควรขอให้ญาติช่วยดูแล แต่หากเล็บหนา ม้วนขบมาก ไม่สามารถตัดเองที่บ้านได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า ทางคลินิกสุขภาพเท้าใช้วิธีตัดเล็บบางส่วนออก ไม่ใช่การผ่าตัดหรือถอดเล็บ
สาเหตุสำคัญของการเกิดแผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวาน ที่มีปัญหาเส้นประสาทรับความรู้สึกส่วนปลายเสื่อม คือ การมีหนังแข็งที่เท้า ดังนั้นเมื่อมีหนังแข็งเกิดขึ้น ควรรีบกำจัดออกโดยไว วิธีการกำจัดหนังแข็งที่เท้า ไม่ควรใช้กรรไกรตัดเล็บหรือกรรไกรตัดหนังตัดเล็มเนื้อออก เพราะอาจทำให้เกิดแผลได้ ควรกำจัดโดยให้ผู้เชี่ยวชาญ ใช้ใบมีดผ่าตัดที่มีความคมสูงการขูดกำจัดออกในแนวระนาบ จะช่วยให้หนังแข็งบางลง และลดความรู้สึกไม่สุขสบายเท้าได้
โดยมีการตรวจประเมิน วัดเท้า ขึ้นแบบเท้าสำหรับแต่ละบุคคล รวมถึงการปรับรองเท้าโดยใช้อุปกรณ์เสริม เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม รองเท้าสุขภาพสำหรับผู้เป็นเบาหวาน และผู้มีปัญหาสุขภาพเท้า โดย กภ.สมเกียรติ มหาอุดมพร ผู้เชี่ยวชาญด้านการตัดรองเท้า ที่มีประสบการณ์มาเกือบ 40 ปี
การลดแรงกดที่เท้าในขณะเดิน เพื่อลดการเกิดแผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวาน ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าสูง สามารถปรับการลงน้ำหนักที่เท้า เพื่อลดแรงกด รักษาปัญหาแผลเรื้อรังที่เท้าได้ เช่น ผู้ที่เป็นเบาหวานที่มีแผลที่เท้า ควรใช้รองเท้าที่มีการปรับยกพื้น รองเท้าส่วนหน้าขึ้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีแผลบริเวณหน้าเท้า นิ้วเท้า ซึ่งจะช่วยลดการลงน้ำหนักที่บริเวณเท้าส่วนหน้า หรือลดการกดทับบริเวณที่มีบาดแผล ส่งผลดีต่อการสมานของแผลและลดปัญหาแผลหายช้าได้